คําแนะนําผู้ป่วยที่ฉายรังสี
บริเวณช่องอก ปอด หลอดอาหาร
ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ระหว่างและหลังฉายรังสี
- ผิวหนังบริเวณที่ฉายรังสีหน้าอกรักแร้อาจมีสีคล้ำขึ้นแห่งเป็นขุยและรู้สึกคันได้เนื่องจากปฏิกิริยาของรังสีที่มีต่อผิวหนัง
- ไขสันหลังระดับต้นคอเสื่อม มีโอกาสเป็นอัมพาต
- กระดูกซี่โครงหัก
- มีผังผืดที่ปอด บางครั้งอาจมีปอดอักเสบ
- ไอ เจ็บคอ กลืนอาหารเหมือนมีอะไรติดคอ
- คลื่นไส้อาเจียน
การดูแลผิวหนังระหว่างฉายรังสี
- ห้ามลบเส้นบริเวณที่ฉายรังสี
- หลีกเลี่ยงการขัดถูหรือเสียดสีในบริเวณที่ฉายรังสีเ่นห้ามแกะเกาผิวหนังบริเวณที่ฉายรังสีตัดเล็บให้สั้นอยู่เสมอเพื่อป้องกันการเกาจนเกิดบาดแผล
- อาบน้ําได้ทุกวันโดยใช้สบู่อ่อนๆใช้ครีมและผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีแอลกอฮอล์หรือสารท่ีทําให้ระคายเคือง
- ดูแลบริเวณฉายรังสีให้แห้ง ไม่อับชื้น
- สวมใส่เสื้อ้าที่หลวมไม่รัดแน่นมีเนื้อผ้าอ่อนนุ่มระบายอากาศได้ดีและห้ามใส่เสื้อชั้นในที่รัดแน่นและมีโครงเหล็ก
- หลีกเลี่ยงการวางกระเป๋าน้ำร้อน หรือน้ำแข็งบริเวณที่ฉายรังสี
- งดว่ายน้ําหรือแช่น้ําบริเวณที่ฉายรังสี
- หากบริเวณที่ฉายรังสีมีอาการผิดปกติเช่นปวดบวมแดงร้อนหรือเป็นแผลให้แจ้งแพทย์หรือพยาบาลทราบทันที
การดูแลบาดแผล
- ใช้สําลีชุบน้ําเกลือล้างแผล เช็ดในแผลและรอบๆ แผลให้สะอาด ไม่ควรใช้ยาใดๆ นอกจากยาที่แพทย์ผู้รักษาสั่งให้
- ปัดด้วยผ้าก๊อสที่สะอาดให้คลุมผิวหนังบริเวณที่ฉายแสง ระวyงอย่า ใช้พลาสเตอรต์ ติดกับผิวหนังบริเวณที่ฉายแสง เนื่องจากเวลาลอกออกอาจทําให้เกิดบาดแผลได้ง่าย
- ไม่แกะ / ลอกสะเก็ดบริเวณแผล
- ถ้าแผลที่มีขนาดใหญ่มีเลือดออก หรือผิวหนังเป็นแผลแฉะมากอย่าทําแผลเอง
การดูแลตนเองเมื่อใส่สายยางหรือท่อให้อาหาร
ผู้ป่วยมักมีน้ำหนักลดถ้าท่านไม่สามารถรับประทานอาหารทางปากได้หรือรับประทานได้น้อยแพทย์อาจแนะนําการให้อาหารทางสายยางหรือท่อให้อาหารถ้าท่านใส่สายยางหรือท่อให้อาหารยังสามารถรับประทานอาหารทางปากร่วมไปด้วยได้ตามความสามารถของท่านเพราะจะทําให้ได้อาหารมากขึ้นได้รู้รสชาติและช่วยให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น
- ข้อควรระวังไม่ให้สายยาง หรือท่อให้อาหารหลุดแต่ถ้าท่านไม่สามารถรับประทานอาหารทางปากได้ให้รีบกลับมาพบแพทย์ หรือโรงพยาบาลใกล้บ้าน
- สังเกตว่าผิวหนังมีลักษณะการอักเสบติดเชื้อหรือไม่คือผิวหนังแดงเจ็บมีตุ่มหนองหรือน้ําไหลต้องแจ้งแพทย์หรือพยาบาล
อาหารและวิธีการให้อาหารผ่านสายยาง
- อาหารต้องเป็นอาหารเหลว หรืออาหารปั่น
- ต้องเป็นอาหารที่สะอาด
- ปริมาณอาหารแต่ละครั้งต้องไม่มากเกินไป อาหารจะล้น ออกมาทางสายยาง ทําให้แน่นท้อง อึดอัด สําลักได้
- ขณะให้อาหารผู้ป่วยควรอยู่ในท่านั่งถ้านั่งไม่ได้ควรนอนเอนตัวศีรษะสูงห้ามนอนราบเพื่อช่วยอาหารไหลลงกระเพาะได้สะดวกขึ้นและป้องกันการสําลักลงปอด
- ควรให้อาหารช้าๆ ทีละน้อยจนกว่าจะหมด ประมาณ 15-30 นาที
- ระหว่างให้อาหารถ้ามีการติดตันอย่าพยายามดันเพราะอาจทําให้สายยางแตกเป็นอันตรายได้ควรแจ้งแพทย์หรือพยาบาล
- หลังให้อาหารเสร็จแล้วทุกครั้งควรใส่น้ําสะอาดตามลงไป เล็กน้อยเพื่อทําความสะอาดสายยาง ไม่ให้เศษอาหารติดค้าง
- หลังให้อาหารเสร็จควรปัดสายยางให้สนิทป้องกันอาหารหรือน้ําย้อยไหลย้อนกลับ
- หลังให้อาหารควรนั่งพักหรือลุกเดินช้าๆไม่ควรนอนทันที เพราะอาจทําให้อาหารไหลย้อนกลับได้และช่วยลดอาการ อืดแน่นท้อง
- ถ้าให้อาหารแล้วมีอาการไอหรือสําลักเสมอ ต้องแจ้งแพทย์ หรือพยาบาล
- ถ้าอยู่าระหว่างมื้อผู้ป่วยหิวสามารถให้อาหารเสริมเพิ่มเติมได้
การตรวจร่างกายประจําสัปดาห์
- ท่านจะได้รับการตรวจร่างกายสัปดาห์ละ 1 ครั้ง
- ท่านจะได้รับการตรวจเลือดเพื่อดูความพร้อมของร่างกายสัปดาห์ละ 1 ครั้ง
สอบถามและปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เบอร์ติดต่อ 0638166058