ภาวะไขมันพอกตับ (Fatty liver)
เป็นภาวะที่มีไขมันสะสมในตับมากกว่าปกติ ซึ่งพบได้มากถึงร้อยละ 20 ของประชากรไทย ในระยะแรกอาจไม่ก่อให้เกิดอาการ มักตรวจพบจากการเจาะเลือดตรวจสุขภาพ หรือ อัลตราซาวนด์ช่องท้องพบมีไขมันพอกตับ แต่ถ้ามีไขมันสะสมในตับระยะยาว สามารถส่งผลเสียได้ต่างๆมากมาย อาทิ เช่น ภาวะตับอักเสบเรื้อรัง พังผืดในตับ ตับแข็งและ มะเร็งตับได้
เป็นภาวะที่ร่างกายไม่สามารถนําไขมันที่ร่างกายรับประทานเข้าไป มาใช้ได้หมด จึงสะสมเป็นไขมันในรูปไตรกลีเซอไรด์ในตับ ทําให้กลายเป็นตับแข็ง และเป็นโรคมะเร็งตับได้
สาเหตุ
- จากการดื่มแอลกอฮอล์
- การรับประทานอาหารมัน
- อาหารหวาน
- อาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตมากเกินไป
- ภาวะอ้วนน้ําหนักตัวเกิน
- เป็นโรคต่างต่าง เช่น โรคเบาหวาน
- ไขมันในเลือดสูง และไวรัสตับอักเสบ
- เกิดจากยาบางชนิดที่มีผลต่อตับ ภาวะเหล็กเกินในตับ
- มีอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยง่ายจากภาวะตับอักเสบ

สามารถวินิจฉัยได้จากประวัติ และการตรวจดูเอนไซม์ตับ
- การตรวจภาพตับด้วยอัลตร้าซาวด์ การเอกซเรย์คอมพิวเตอร์
- การตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
- การตรวจความหนาแน่นของตับด้วยเครื่องไฟโบลสแกน
- การตรวจทางพยาธิวิทยา
การรักษา
- หลีกเลี่ยงการรับประทานยา หรือผลิตภัณฑ์อาหารเสริมที่นอกเหนือจากที่แพทย์สั่ง
- ลดน้ําหนักโดยการควบคุมอาหาร และออกกําลังกายเป็นประจํา
- ตรวจสุขภาพประจําปีสม่ำเสมอ
- ควบคุมภาวะไขมันในเลือดสูง, เบาหวาน, ความดันโลหิตสูง ให้อยู่ในเกณฑ์ปกติมากที่สุด
- งดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
หากสงสัย หรือมีอาการผิดปกติแนะนําให้ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ศูนย์ส่องกล้องระบบทางเดินอาหาร
สอบถามและปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เบอร์ติดต่อ 0638166058