มะเร็งตับ อาการและปัจจัยเสี่ยง
Liver cancer symptoms and risk factors
ปัจจุบันจะเห็นได้ว่าผู้คนเริ่มให้ความสนใจเรื่องโรคมะเร็งมากขึ้น ทั้งในแง่ของการรักษาและการเฝ้าระวังเช่นเดียวกับ “มะเร็งในระบบทางเดินอาหาร” ซึ่งมีหลายชนิดเนื่องจากระบบทางเดินอาหารของคนเรานั้นประกอบด้วยการทำงานของหลายอวัยวะเริ่มตั้งแต่ปาก หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่ ไปจนถึงทวารหนักนอกจากนี้ยังมีอวัยวะอื่นๆซึ่งเป็นอวัยวะในระบบทางเดินอาหารอีก เช่น การกลืนอาหารลำบาก อาการปวดท้อง การขับถ่ายที่ผิดปกติ การมีตาเหลืองขึ้นหรือภาวะดีซ่านซึ่งป็นอาการของโรคมะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งกระเพาะ มะเร็งลำไส้ใหญ่ และมะเร็งตับหรือมะเร็งท่อน้ำดี ตามลำดับนอกจากนี้ยังมีอาการโดยรวมที่พบได้ในโรคมะเร็งเกือบทุกชนิด คืออาการเบื่ออาหารรับประทานอาหารได้ลดลง และภาวะน้ำหนักที่ลดลง
มะเร็งตับคืออะไร
มะเร็งตับเป็นมะเร็งที่พบบ่อยเป็นอันดับต้นๆและเป็นสาเหตุของการเจ็บป่วยเรื้อรังนำมาสู่การเสียชีวิตก่อนวัยอันควร แม้ว่าความก้าวหน้าของการรักษาจะดีขึ้นมากแต่พบว่าผู้ป่วยมักได้รับการวินิจฉัยโรคเมื่อการดำเนินโรคไปไกลแล้ว ทั้งนี้หากพบโรคในระยะเริ่มต้น สำหรับการเฝ้ามะเร็งตับนั้นในต่างประเทศรวมทั้งประเทศไทย กลุ่มแพทย์สหสาขาได้แก่ อายุรแพทย์โรคระบบทางเดินอาหาร,อายุรแพทย์โรคมะเร็ง,ศัลยกรรมแพทย์และรังสีแพทย์ ได้มีแนวทางร่วมกันในการเฝ้าระวังโรคมะเร็งตับ โดยดูจากกลุ่มเสี่ยงของการเกิดโรค ได้แก่ กลุ่มผู้ทีเป็นโรคตับแข็งและกลุ่มที่ยังไม่ตับแข็ง คือ ผู้ที่เป็นโรคไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรัง ในผู้ชายอายุ 40 ปีขึ้นไปและในผู้หญิงอายุ 50 ปีขึ้นไป ผู้ที่เป็นไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรังและมีญาติสายตรงเป็นมะเร็งตับ และผู้ที่เป็นโรคไวรัสตับอักเสบซีเรื้อรัง ที่มีพังผืดในตับอย่างน้อยระดับ 3 โดยคนกลุ่มนี้ควรได้รับการทำอัลตร้าซาวน์ช่องท้องส่วนบนอย่างน้อยทุก 6-12 เดือนหรือร่วมกับการตรวจเลือดดูระดับAFP(Alfa-fetoprotein)อย่างน้อย 6-12 เดือน
ปัจจัยเสี่ยงมะเร็งตับ
กลุ่มเสี่ยงของการเกิดโรค ได้แก่ กลุ่มผู้ทีเป็นโรคตับแข็งและกลุ่มที่ยังไม่ตับแข็ง คือ ผู้ที่เป็นโรคไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรัง ในผู้ชายอายุ 40 ปีขึ้นไปและในผู้หญิงอายุ 50 ปีขึ้นไป ผู้ที่เป็นไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรังและมีญาติสายตรงเป็นมะเร็งตับ และผู้ที่เป็นโรคไวรัสตับอักเสบซีเรื้อรัง ที่มีพังผืดในตับอย่างน้อยระดับ 3 โดยคนกลุ่มนี้ควรได้รับการทำอัลตร้าซาวน์ช่องท้องส่วนบนอย่างน้อยทุก 6-12 เดือนหรือร่วมกับการตรวจเลือดดูระดับAFP (Alfa-fetoprotein) อย่างน้อย 6-12 เดือน การที่จะทราบว่าเราอยู่ในกลุ่มเสี่ยงต่อโรคมะเร็งตับหรือไม่นั้น สามารถสังเกตได้จากอาการบางอย่าง โดยผู้ที่เป็นโรคตับแข็งอาจมีอาการตาเหลือง ท้องโตหรือท้องมานมีจุดเส้นเลือดคล้ายใยแมงมุมขนาดเล็กที่บริเวณหน้าอก แต่ผู้ทีเป็นโรคตับแข็งในระยะต้น หรือกลุ่มผู้ที่ยังไม่ป็นโรคตับแข็งอาจไม่มีอาการแสดงที่ชัดเจนให้ดูจากความเสี่ยง เช่น การดื่มสุรา การเป็นโรคไวรัสตับอักเสบเรื้อรัง เหล่านี้ต้องอาศัยการตรวจเพิ่มเติม เช่น การซักประวัติและตรวจร่างกายโดยแพทย์ การตรวจเลือดดูจากการทำงานของตับ อาการแสดงของโรคมะเร็งปอดอาจถูกเข้าใจผิดกับบางโรค เช่นการติดเชื้อ หรือเป็นผลมาจากการสูบบุหรี่เป็นระยะเวลานานได้ มักจะเกิดเมื่อมีโรคดำเนินไปถึงระยะลุกลามแล้ว โดยจะมีอาการไอเรื้อรังไอเรื้อรังพร้อมมีเลือดออกมา เหนื่อยง่าย อ่อนแรง เจ็บหน้าอกหายใจได้สั้นๆ น้ำหนักลดลงโดยหาสาเหตุไม่ได้
การตรวจวินิจฉัย
การตรวจเลือดค้นหาไวรัสตับอักเสบบีและซีทำอัลตร้าซาวน์ตับ และหากพบว่าอยู่ในกลุ่มเสี่ยงแล้ว ควรเริ่มรักษาความเสี่ยงโดยการรักษาไวรัสตับอักเสบที่ตรวจพบการเลิกดื่มสุราหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และเข้าสู่กระบวนการเฝ้าระวังโรคมะเร็งตับตามวิธีกล่าวไปข้างต้น และหากคัดกรองแล้วพบสิ่งที่สงสัยมะเร็งตับ สามารถเข้ารับการตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติมได้ ซึ่งหลายวิธีทั้งการเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ การตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า และการตรวจทางพยาธิวิทยาของชิ้นเนื้อ
การรักษา
ด้านการรักษามะเร็งตับในปัจจุบันหากคัดกรองพบโรคระยะต้นๆ การรักษาจะมุ่งเน้นเพื่อโอกาสของการหายขาดหรือการมีอายุที่ยืนยาวขึ้น เช่น การผ่าตัดตับการเปลี่ยนตับ แต่หากตรวจพบในระยะที่โรคดำเนินไปไกลแล้ว เป้าหมายของการรักษาคือเพื่อควบคุม เช่น การทำลายก้อนมะเร็งตับเฉพาะที่ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระยะของโรค สภาพการทำงานของตับ และสภาวะของผู้ป่วย โดยบางรายอาจใช้หลายวิธีร่วมกัน
สอบถามและปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เบอร์ติดต่อ 0638166058