“มะเร็งตับ”
ปัจจุบันจะเห็นได้ว่าผู้คนเริ่มให้ความสนใจเรื่องโรคมะเร็งมากขึ้น ทั้งในแง่ของการรักษาและการเฝ้าระวังเช่นเดียวกับ “มะเร็งในระบบทางเดินอาหาร” ซึ่งมีหลายชนิดเนื่องจากระบบทางเดินอาหารของคนเรานั้นประกอบด้วยการทำงานของหลายอวัยวะเริ่มตั้งแต่ปาก หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่ ไปจนถึงทวารหนักนอกจากนี้ยังมีอวัยวะอื่นๆซึ่งเป็นอวัยวะในระบบทางเดินอาหารอีก เช่น การกลืนอาหารลำบาก อาการปวดท้อง การขับถ่ายที่ผิดปกติ การมีตาเหลืองขึ้นหรือภาวะดีซ่านซึ่งป็นอาการของโรคมะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งกระเพาะ มะเร็งลำไส้ใหญ่ และมะเร็งตับหรือมะเร็งท่อน้ำดี ตามลำดับนอกจากนี้ยังมีอาการโดยรวมที่พบได้ในโรคมะเร็งเกือบทุกชนิด คืออาการเบื่ออาหารรับประทานอาหารได้ลดลง และภาวะน้ำหนักที่ลดลง
สอบถามและปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เบอร์ติดต่อ 0638166058
สอบถามและปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
เบอร์ติดต่อ 0638166058
รู้จัก… มะเร็งตับ
มะเร็งตับเป็นมะเร็งที่พบบ่อยเป็นอันดับต้นๆและเป็นสาเหตุของการเจ็บป่วยเรื้อรังนำมาสู่การเสียชีวิตก่อนวัยอันควร แม้ว่าความก้าวหน้าของการรักษาจะดีขึ้นมากแต่พบว่าผู้ป่วยมักได้รับการวินิจฉัยโรคเมื่อการดำเนินโรคไปไกลแล้ว ทั้งนี้หากพบโรคในระยะเริ่มต้น สำหรับการเฝ้ามะเร็งตับนั้นในต่างประเทศรวมทั้งประเทศไทย กลุ่มแพทย์สหสาขาได้แก่ อายุรแพทย์โรคระบบทางเดินอาหาร,อายุรแพทย์โรคมะเร็ง,ศัลยกรรมแพทย์และรังสีแพทย์ ได้มีแนวทางร่วมกันในการเฝ้าระวังโรคมะเร็งตับ โดยดูจากกลุ่มเสี่ยงของการเกิดโรค ได้แก่ กลุ่มผู้ทีเป็นโรคตับแข็งและกลุ่มที่ยังไม่ตับแข็ง คือ ผู้ที่เป็นโรคไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรัง ในผู้ชายอายุ 40 ปีขึ้นไปและในผู้หญิงอายุ 50 ปีขึ้นไป ผู้ที่เป็นไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรังและมีญาติสายตรงเป็นมะเร็งตับ และผู้ที่เป็นโรคไวรัสตับอักเสบซีเรื้อรัง ที่มีพังผืดในตับอย่างน้อยระดับ 3 โดยคนกลุ่มนี้ควรได้รับการทำอัลตร้าซาวน์ช่องท้องส่วนบนอย่างน้อยทุก 6-12 เดือนหรือร่วมกับการตรวจเลือดดูระดับAFP(Alfa-fetoprotein)อย่างน้อย 6-12 เดือน
กลุ่มเสี่ยงของการเกิดโรค ได้แก่ กลุ่มผู้ทีเป็นโรคตับแข็งและกลุ่มที่ยังไม่ตับแข็ง คือ ผู้ที่เป็นโรคไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรัง ในผู้ชายอายุ 40 ปีขึ้นไปและในผู้หญิงอายุ 50 ปีขึ้นไป ผู้ที่เป็นไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรังและมีญาติสายตรงเป็นมะเร็งตับ และผู้ที่เป็นโรคไวรัสตับอักเสบซีเรื้อรัง ที่มีพังผืดในตับอย่างน้อยระดับ 3 โดยคนกลุ่มนี้ควรได้รับการทำอัลตร้าซาวน์ช่องท้องส่วนบนอย่างน้อยทุก 6-12 เดือนหรือร่วมกับการตรวจเลือดดูระดับAFP(Alfa-fetoprotein)อย่างน้อย 6-12 เดือน การที่จะทราบว่าเราอยู่ในกลุ่มเสี่ยงต่อโรคมะเร็งตับหรือไม่นั้น สามารถสังเกตได้จากอาการบางอย่าง โดยผู้ที่เป็นโรคตับแข็งอาจมีอาการตาเหลือง ท้องโตหรือท้องมานมีจุดเส้นเลือดคล้ายใยแมงมุมขนาดเล็กที่บริเวณหน้าอก แต่ผู้ทีเป็นโรคตับแข็งในระยะต้น หรือกลุ่มผู้ที่ยังไม่ป็นโรคตับแข็งอาจไม่มีอาการแสดงที่ชัดเจนให้ดูจากความเสี่ยง เช่น การดื่มสุรา การเป็นโรคไวรัสตับอักเสบเรื้อรัง เหล่านี้ต้องอาศัยการตรวจเพิ่มเติม เช่น การซักประวัติและตรวจร่างกายโดยแพทย์ การตรวจเลือดดูจากการทำงานของตับ อาการแสดงของโรคมะเร็งปอดอาจถูกเข้าใจผิดกับบางโรค เช่นการติดเชื้อ หรือเป็นผลมาจากการสูบบุหรี่เป็นระยะเวลานานได้ มักจะเกิดเมื่อมีโรคดำเนินไปถึงระยะลุกลามแล้ว โดยจะมีอาการไอเรื้อรังไอเรื้อรังพร้อมมีเลือดออกมา เหนื่อยง่าย อ่อนแรง เจ็บหน้าอกหายใจได้สั้นๆ น้ำหนักลดลงโดยหาสาเหตุไม่ได้
การตรวจเลือดค้นหาไวรัสตับอักเสบบีและซีทำอัลตร้าซาวน์ตับ และหากพบว่าอยู่ในกลุ่มเสี่ยงแล้ว ควรเริ่มรักษาความเสี่ยงโดยการรักษาไวรัสตับอักเสบที่ตรวจพบการเลิกดื่มสุราหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และเข้าสู่กระบวนการเฝ้าระวังโรคมะเร็งตับตามวิธีกล่าวไปข้างต้น และหากคัดกรองแล้วพบสิ่งที่สงสัยมะเร็งตับ สามารถเข้ารับการตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติมได้ ซึ่งหลายวิธีทั้งการเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ การตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า และการตรวจทางพยาธิวิทยาของชิ้นเนื้อ
ด้านการรักษามะเร็งตับในปัจจุบันหากคัดกรองพบโรคระยะต้นๆ การรักษาจะมุ่งเน้นเพื่อโอกาสของการหายขาดหรือการมีอายุที่ยืนยาวขึ้น เช่น การผ่าตัดตับการเปลี่ยนตับ แต่หากตรวจพบในระยะที่โรคดำเนินไปไกลแล้ว เป้าหมายของการรักษาคือเพื่อควบคุม เช่นการทำลายก้อนมะเร็งตับเฉพาะที่ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระยะของโรค สภาพการทำงานของตับ และสภาวะของผู้ป่วย โดยบางรายอาจใช้หลายวิธีร่วมกัน
รอบรู้…โรคมะเร็งตับ
โรคตับแข็งไม่ดื่มก็เป็นได้
ภาวะไขมันพอกตับ(Fatty liver)
เป็นภาวะที่มีไขมันสะสมในตับมากกว่าปกติ ซึ่งพบได้มากถึงร้อยละ 20 ของประชากรไทย ในระยะแรกอาจไม่ก่อให้เกิดอาการ มักตรวจพบจากการเจาะเลือดตรวจสุขภาพ หรือ อัลตราซาวนด์ช่องท้องพบมีไขมันพอกตับ แต่ถ้ามีไขมันสะสมในตับระยะยาว สามารถส่งผลเสียได้ต่างๆมากมาย อาทิ เช่น ภาวะตับอักเสบเรื้อรัง พังผืดในตับ ตับแข็งและ มะเร็งตับได้
ไฟโบรสแกน.. ตรวจตับไม่เจ็บตัว
เมื่อเป็นต่อไปเรื่อยๆจะเสี่ยงเกิดภาวะตับแข็งได้ และพบว่าผู้ที่เป็นตับแข็ง เสี่ยงเป็นมะเร็งตามมา ภาวะนี้จึงเปรียบเสมือนภัยเงียบอย่างหนึ่ง FIBROSCAN คือเครื่องมือตรวจหาภาวะไขมันพอกตับ และผังผืดในตับโดยการส่งผ่านคลื่นความถี่ลงไปที่บริเวณผิวหนังตรงตำแหน่งตับ และแสดงผลออกมาเป็นตัวเลข โดยไม่เกิดความเจ็บปวดและมีความเสี่ยงต่ำ ผู้ที่ควรเข้ารับการตรวจด้วยไฟโบรสแกน ได้แก่ผู้ที่เป็นโรคไวรัสตับอักเสบ ผู้ที่พบภาพอัลตร้าซาวน์ผิดปกติสงสัยไขมันพอกตับ ผู้ที่มรีโรคร่วม เช่น ไขมันสูง เบาหวาน โรคอ้วน และบุคคลทั่วไป
มะเร็งตับ
รวมสาระความรู้ด้านโรคมะเร็งตับ เพื่อสร้างความเข้าใจในการรักษาเกี่ยวกับมะเร็ง
ตัวเลือกการรักษามะเร็งตับ: มุมมองใหม่ในการต่อสู้กับโรคร้าย
ยามุ่งเป้าสำหรับผู้ป่วยมะเร็งตับ: ทางเลือกใหม่ในการรักษา
การรักษามะเร็งตับด้วย TACE: ทางเลือกที่ไม่ต้องผ่าตัด
การฉายรังสีสำหรับมะเร็งตับ
การจี้ทำลายก้อนมะเร็งตับด้วยคลื่นไมโครเวฟ
สัญญาณและอาการของโรคมะเร็งตับอ่อน
มะเร็งพบเร็ว รักษาหายขาดได้
ติดต่อเพื่อพูดคุยกับเรา
เกี่ยวกับการรักษา
หากท่านมีคำถามเพิ่มเติม หรือต้องการนัดหมายเข้ารับบริการ สามารถติดต่อเราได้ผ่านช่องทางด้านล่างนี้