คําแนะนําผู้ป่วยที่ฉายรังสีบริเวณเต้านม
ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ ระหว่างและหลังฉายรังสี
- ผิวหนังบริเวณที่ฉายรังสี หน้าอก รักแร้ อาจมีสีคล้ําขึ้น แห้งเป็นขุย และรู้สึกคันได้เนื่องจากปฏิกิริยยาของรังสีที่มี ต่อผิวหนัง
- ผิวหนังบริเวณที่ไดรับการฉายรังสีจะแข็งหรือมีเส้นเลือดฝอย
- แขนบวม ( ข้างที่ฉายรังสี )
- มีผังผืดที่ปอด บางคร้ังอาจมีปอดอักเสบ
- ข้อไหล่ติด
- คลื่นไส้ อาเจียน
การดูแลผิวหนังระหว่างฉายรังสี
- ห้ามลบเส้นบริเวณที่ฉายรังสี
- หลีกเลี่ยงการขัดถู หรือเสียดสีในบริเวณที่ฉายรังสี เช่น ห้ามแกะเกา ผิวหนังบริเวณที่ฉายรังสี ตัดเล็บให้สั้นอยู่เสมอ เพื่อป้องกันการเกาจนเกิดบาดแผล
- อาบน้ําได้ทุกวันโดยใช้สบู่อ่อนๆ ใช้ครีมและผลิตภัณฑ์ที่ ไม่มีแอลกอฮอล์ หรือสารที่ทําให้ระคายเคือง
- ดูแลบริเวณฉายรังสีให้แห้ง ไม่อับชื้น
- สวมใส่เสื้อผ้าที่หลวมไม่รัดแน่น มีเนื้อผ้า อ่อนนุ่ม ระบายอากาศได้ดี และห้ามใส่เสื้อชั้นใน ที่รัดแน่นและมีโครงเหล็ก
- หลีกเลี่บงการวางกระเป๋านํา้ร้อน หรือน้ำแข็งบริอเวณที่ฉายรังสี
- งดว่ายน้ําหรือแช่น้ําบริเวณที่ฉายรังสี
- หากบริเวณที่ฉายรังสีมีอาการผิดปกติ เช่น ปวด บวมแดง ร้อน หรือเป็นแผลให้แจ้งแพทย์หรือพยาบาลทราบทันที
การดูแลบาดแผล
- ใช้สําลีชุบน้ําเกลือล้างแผล เช็ดในแผลและรอบๆ แผลให้สะอาด ไม่ควรใช้ยาใดๆ นอกจากยาที่แพทย์ผู้รักษาสั่งให้
- ปิดด้วยผ้าก๊อสที่สะอาดให้คลุมผิวหนังบริเวณที่ฉายแสง ระวังอย่าใช้พลาสเตอร์ติดกับผิวหนังบริเวณที่ฉายแสง เนื่องจากเวลาลอกออกอาจทําให้เกิดบาดแผลได้ง่าย
- ไม่แกะ / ลอกสะเก็ดบริเวณแผล
- ถ้าแผลที่มีขนาดใหญ่มีเลือดออก หรือผิวหนังเป็น แผลแฉะมากอย่าทําแผลเอง
การป้องกันแขนบวม
- ทําการบริหารแขนทุกวันสม่ําเสมอต่อเนื่องตลอดชีวิต
- ระวังแขนข้างนั้นไม่ให้เกิดแผล เพราะจะทําให้แผลติดเชื้อง่าย
- หลีกเลี่ยงการเจาะเลือด ฉีดยา ให้น้ําเกลือวัดความดันโลหิตแขนข้างนั้น
- ไม่ควรประคบแขนข้างที่ฉายแสงด้วยน้ําร้อนหรือเย็นจัด
- ห้ามใช้แขนข้างนั้นยกของหนัก สะพายกระเป๋า
- เมื่อไม่ใช้แขนหรือมีเวลาว่างควรยกแขนข้างนั้นให้สูงเสมอ
การตรวจร่างกายประจําสัปดาห์
- ท่านจะได้รับการตรวจร่างกายสัปดาห์ละ 1 ครั้ง
- ท่านจะได้รับการตรวจเลือดเพื่อดูความพร้อมของร่างกาย สัปดาห์ละ 1 คร้ัง
สอบถามและปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เบอร์ติดต่อ 0638166058