มะเร็งเต้านมในผู้หญิงอายุน้อย
มะเร็งเต้านมเป็นมะเร็งที่พบมากที่สุดในเพศหญิง โดยในช่วงปี พ.ศ. 2559-2561 ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่มีอายุน้อยกว่า 40 ปี คิดเป็นร้อยละ 10 ของผู้ป่วยรายใหม่ทั้งหมด ซึ่งผู้ป่วยในกลุ่มอายุน้อยนี้มักมีอาการรุนแรงมากกว่าผู้ที่มีอายุมากกว่า
การตรวจวินิจฉัยมะเร็งเต้านมในผู้หญิงอายุน้อย
การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมแนะนำให้เริ่มตรวจในผู้หญิงที่มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไปด้วยแมมโมแกรม อย่างไรก็ตาม ในกลุ่มเสี่ยงสูง เช่น ผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งเต้านมหรือมีความผิดปกติทางพันธุกรรม แพทย์อาจแนะนำให้ตรวจเร็วกว่านี้
เนื่องจากผู้หญิงอายุน้อยมักมีเนื้อเยื่อเต้านมที่หนาแน่น การตรวจด้วยแมมโมแกรมอาจไม่แม่นยำมากนัก ดังนั้น แพทย์อาจแนะนำให้ใช้การตรวจอัลตราซาวนด์หรือการตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) แทน
การรักษามะเร็งเต้านมในผู้หญิงอายุน้อย
การรักษามะเร็งเต้านมในผู้หญิงอายุน้อยจะคล้ายกับการรักษาในผู้ป่วยที่มีอายุมาก เช่น การผ่าตัด การฉายแสง หรือการใช้ยา อย่างไรก็ตาม ยาบางชนิด เช่น ยาเคมีบำบัดและยาต้านฮอร์โมนอาจส่งผลต่อภาวะเจริญพันธุ์หรือทำให้เกิดภาวะมีบุตรยาก ดังนั้น ผู้ป่วยควรวางแผนครอบครัวก่อนเริ่มการรักษา
ความเสี่ยงจากพันธุกรรมและการวางแผนการป้องกัน
ในกรณีที่ตรวจพบความผิดปกติทางพันธุกรรม แพทย์อาจแนะนำวิธีการตรวจคัดกรองและการรักษาที่เหมาะสมเพื่อป้องกันมะเร็งเต้านมในอนาคต
โอกาสการหายขาด
มะเร็งเต้านมในทุกช่วงวัยมีโอกาสหายขาดสูง หากได้รับการวินิจฉัยในระยะแรกและรับการรักษาอย่างเหมาะสม